จดทะเบียนบริษัท


หนี้สงสัยจะสูญ

เมื่อ: 12 มิ.ย. 2557
902 ผู้ชม

Guest

การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ
การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ คือการประมาณว่ามีลูกหนี้จำนวนเงินเท่าไรที่กิจการคิดว่าจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ซึ่งกิจการจะต้องทำการประมาณนี้ทุกสิ้นงวดบัญชี มีชื่อบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการประมาณหนี้สงสัยจะสูญที่จะอธิบายให้เข้าใจ ดังนี้
หนี้สูญ หมายถึง จำนวนเงินพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้กิจการได้อย่างแน่นอน เช่น ลูกหนี้ล้มละลาย ลูกหนี้เสียชีวิต เป็นต้น ซึ่งหนี้สูญนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ
หนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการประมาณในวันสิ้นงวดบัญชีว่าจะมีหนี้สูญที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวนเงินเท่าไร แต่จำนวนเงินนั้นเป็นเพียงแค่การประมาณไว้ ยังไม่สูญไปอย่างแน่นอน ซึ่งหนี้สงสัยจะสูญนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการเช่นกัน
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง จำนวนเงินที่กิจการใช้ปรับมูลค่าของลูกหนี้ให้ตรงกับความเป็นจริง ให้เป็นจำนวนเงินของลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินได้จริง ๆ ดังนั้นลูกหนี้สุทธิที่คาดว่าจะเก็บเงินได้จริง ๆ จะเท่ากับยอดลูกหนี้หักด้วยค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญนี้ถือเป็นบัญชีสินทรัพย์ของกิจการแต่จะมียอดคงเหลืออยู่ทางด้านเครดิต ทั้งนี้เพื่อเป็นการใช้ปรับมูลค่าของลูกหนี้ให้ตรงกับความเป็นจริงนั่นเอง
ในบทนี้จะอธิบายถึงเฉพาะการประมาณหนี้สงสัยจะสูญในวันสิ้นงวดบัญชีก่อน ส่วนรายการอื่นที่เกี่ยวข้องกับหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ เช่น การตัดลูกหนี้ให้เป็นหนี้สูญ หนี้สูญได้รับคืน การประมาณหนี้สงสัยจะสูญไว้สูงเกินไป หรืออื่น ๆ จะได้อธิบายในหนังสือหลักการบัญชีขั้นต้น 2 ต่อไป
การประมาณหนี้สงสัยจะสูญในวันสิ้นงวด สามารถบันทึกบัญชีได้โดย เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ และเครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จำนวนเงินเท่ากับหนี้สงสัยจะสูญในปีนั้น ซึ่งจำนวนเงินหนี้สงสัยจะสูญในปีนั้นจะเป็นเท่าไรจะขึ้นอยู่กับวิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ
เดือน 3 วันมาฆะบูชา จะมีพิธีสรงน้ำพระธาตุ ทุกปี<br />ที่มา บทความ : ททท.<br />Related Posts via Categoriesกาดดารา (1)หมู่บ้านม้งแม่ขุนวาก (1)บ้านจ๊างนัก (1)หมู่บ้านทำเครื่องเงิน (1)ชุมชนวัดเกต (1)

pangpond

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงินจึงยังไม่ได้บัญทึกบัญชี เช่น ค่าแรงงานค้างจ่าย เงินเดือนค้างจ่าย ดอกเบี้ยค้างจ่าย เป็นต้น กิจการจึงจำเป็นต้องปรับปรุงบัญชีโดยเพิ่มค่าใช้จ่ายของงวดบัญชีปัจจุบันแล้วตั้งเป็นหนี้สินไว้
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กิจการจ่ายเงินแล้วแต่มีบางส่วนที่เป็นของงวดบัญชีต่อไปรวมอยู่ด้วย เช่น ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า ค่าเบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า
การบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ทำได้ 2 วิธี คือ
1. บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ เมื่อจ่ายเงินสดจะลงไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า เมื่อสิ้นงวดบัญชีให้โอนส่วนที่เป็นของงวดบัญชีปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่าย
2. บันทึกไว้เป็นค่าใช้จ่าย เมื่อจ่ายเงินสดจะลงบัญชีไว้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน เมื่อสิ้นงวดบัญชีให้โอนส่วนที่เป็นของงวดบัญชีถัดไปเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
เมื่อ - 12 มิ.ย. 2557


กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
































เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. | รับจดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี | รับจดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน