จดทะเบียนบริษัท


ผู้บริหารนําเงินในบัญชี ไปใช้ส่วนตัว ทําให้เป็นยอดเบิกเกินสูงมาก

เมื่อ: 21 พ.ค. 2557
1,887 ผู้ชม

Admin

การที่กรรมการนำเงินสดของกิจการไปใช้ส่วนตัวก่อนนั้น กิจการต้องมีการคิดอัตราดอกเบี้ย
ดังนั้นโดยทั่วไป จึงไม่มีเหตุใดอันสมควรเลย เมื่อไม่มีเหตุอันควร เราก็ต้องอาศัยผลประโยชน์อันพึงได้ของเงินนั้นๆ หากไม่เอาเงินนั้นไปให้กรรมการ, พนักงานกู้ยืม บริษัทฯ จะได้ดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์เป็นจำนวนเงินเท่าใดในระยะเวลาที่เท่าๆกันกับการให้ยืมเงิน และต้องไม่ต่ำกว่าอัตราตลาด! หมายความว่า
1. ต้องมีการคิดดอกเบี้ยต่อกัน
2. หากบริษัทฯมีเงินเหลือให้กู้ยืม เงินที่ให้กู้นั้นต้องคิดดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
3. หากเงินที่ให้กู้ยืมนั้น ได้จากการที่บริษัทฯต้องไปกู้ยืมที่อื่นมาล่ะก็ ต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเงินกู้ยืม หรือในอัตราเบิกเงินเกินบัญชี O.D.
และเมื่อมีการคิดดอกเบี้ย ต่อกัน แล้ว จะเกิดภาษีขึ้น 2 ตัวคือ
1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของเงินดอกเบี้ยที่ได้รับ โดยให้นำส่งภาษีดังกล่าวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบ ภธ.40 ในการนำส่งภาษี
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 โดยจะต้องนำเงินรายได้จากดอกเบี้ยดังกล่าวมาคำนวนร่วมกับรายได้ของบริษัทฯ ในรอบบัญชีที่เกิดรายได้นั้นๆ


pangpond

เงินกู้ยืมกรรมการ ที่มักจะปรากฎอยู่ในงบดุลฝั่งลูกหนี้ เนื่องจากเงินสดของกิจการมีมาก แต่ไม่สามารถให้ตรวจนับได้ จะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่สำหรับกิจการเอสเอ็มอี บัญชีที่จะถูกนักบัญชีไปพักไว้ก็คือ บัญชีลูกหนี้เงินยืมกรรมการ หรือเงินกู้ยืมกรรมการ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้ว่า กิจการต้องแสดงหรือรับรู้รายได้ หรือค่าตอบแทนจากโอนทรัพย์สิน รายได้ค่าบริการ และดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงิน เพื่อการคำนวณกำไร หรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรตามราคาตลาด ณ วันที่มีการโอนขายทรัพย์สิน หรือสินค้าให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงินนั้น ในกรณีที่ผลตอบแทนดังกล่าว หรือได้รับผลตอบแทนแต่ต่ำกว่าราคาตลาด ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถแสดงเหตุผลอันสมควร เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร มีอำนาจประเมินผลตอบแทนให้เป็นไปตามราคาในวันที่เกิดกิจการมีรายได้นั้นได้
สำหรับลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ อัตราดอกเบี้ยที่ควรจะเป็น ได้แก่ อัตราที่กิจการกู้ยืมมาจากสถาบันการเงินอื่น หรือกู้ยืมจากบุคคลภายนอก แต่ถ้ากิจการนำเงินสดในมือของตนออกให้กู้ยืมโดยมิได้มีแหล่งเงินกู้ยืมเลย ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารพาณิชย์ในขณะนั้น สำหรับระยะเวลา 1 ปีเป็นเกณฑ์ (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/936 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2532) (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802(ก) /3598 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2535)
อ้างอิงหนังสือการบัญชีภาษีอากร ของอาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ เขียนไว้ "เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล"
ข้อ 7 ในกรณีที่บริษัทให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย
(ก) ถ้านำเงินของบริษัทที่มีอยู่ไปให้กู้ยืม โดยไม่คิดดอกเบี้ย หรือคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินฯ ประเมินดอกเบี้ยที่ควรได้รับตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารในเวลาที่มีการกู้ยืม
(ข) ในกรณีนำเงินที่กู้ยืมมาจากผู้อื่นไปให้กู้ยืม โดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้เจ้าพนักงานประเมินฯ ประเมินดอกเบี้ยที่ควรได้รับตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในเวลาที่มีการกู้ยืม
เมื่อ - 21 พ.ค. 2557


กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
































เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. | รับจดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี | รับจดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน