จดทะเบียนบริษัท


เงินปันผลกำไรสะสม

เมื่อ: 21 พ.ค. 2557
784 ผู้ชม

Admin

เงินปันผล (อังกฤษ: dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง และจ่ายส่วนที่เหลือเป็นเงินปันผล การจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) หรือ หากบริษัทมีแผนนำเงินปันผลไปลงทุนต่อ ปริมาณค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนได้
เงินปันผลจัดสรรในปริมาณต่อหุ้นตายตัว โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับการถือหุ้น สำหรับบริษัทร่วมทุน การจ่ายเงินปันผลไม่เป็นค่าใช้จ่าย แต่เป็นการแบ่งรายได้หลังหักภาษีกันของผู้ถือหุ้น กำไรสะสมแสดงในส่วนส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder equity) ในงบดุลของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นทุนที่นำออกจำหน่าย บริษัทมหาชนมักจ่ายเงินปันผลตามกำหนดเวลาตายตัว แต่อาจประกาศเงินปันผลเมื่อใดก็ได้ บางครั้งเรียก เงินปันผลพิเศษ เพื่อแยกกับเงินปันผลตามเวลาตายตัว ตรงข้ามกับสหกรณ์ ซึ่งจ่ายเงินปันผลตามกิจกรรมของสมาชิก ฉะนั้นเงินปันผลของสหกรณ์จึงมักจัดเป็นค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษี

pangpond

การจัดสรรกำไรสะสม คือ การแยกกำไรสะสมส่วนหนึ่งออกมาจากกำไรสะสม ที่ยังมิได้จัดสรร มาตั้งไว้ต่างหากเพื่อประโยชน์ของบริษัทเอง หรือตามข้อบังคับของกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยเฉพาะ ซึ่งกำไรสะสมในส่วนนี้ บริษัทจะนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ ในการจัดสรรกำไรสะสมโดยการตั้งสำรองต่างๆ อาจจำแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. การตั้งสำรองตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ถ้าบริษัทจำกัดมีกำไรสุทธิ จะต้องจัดสรรกำไรสะสม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 ทุกครั้งที่ได้มีมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ประกาศจ่ายเงินปันผล บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่ากำไรสะสมที่จัดสรรไว้เป็นทุนสำรองนั้น มีจำนวน 10% ของจำนวนทุนที่จดทะเบียนหรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนด หากได้มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้มากกว่า
2. การตั้งสำรองตามข้อผูกพัน ซึ่งเป็นการตั้งตามมติของคณะกรรมการบริษัทให้จัดสรรกำไรสะสมเพื่อเป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้หรือผู้ถือหุ้นกู้ โดยบริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสะสมทุกวันสิ้นปีตลอดอายุของหุ้นกู้ หรือตลอดสัญญาของการเป็นหนี้ และในขณะเดียวกันบริษัทจะต้องมีการกันเงินสดไว้เท่ากับกำไรสะสมที่เท่ากัน เพื่อที่จะให้มีเงินสดเพียงพอที่จะไปชำระหุ้นกู้เมื่อวัน
ครบกำหนดหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นการชำระหนี้แล้ว บัญชีสำรองตามข้อผูกพันมียอดคงเหลือ ให้โอนปิดบัญชีสำรองตามข้อผูกพันกลับไปยังบัญชีกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรรตามเดิม
3. การตั้งสำรองตามนโยบายของบริษัท ซึ่งเป็นการจัดสรรกำไรสะสมตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัท โดยให้กันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่งเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาไว้ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนให้มีสภาพคล่องในอัตราที่สูง ในการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น บริษัทให้กันกำไรสะสมไว้สำหรับค่าเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สำรองเพื่อการขยายงาน สำรองเพื่อประกันภัยตนเอง
เมื่อ - 21 พ.ค. 2557


กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
































เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. | รับจดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี | รับจดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน