จดทะเบียนบริษัท


รถตู้ให้เช่า หักภาษีณ.ที่จ่ายแบบไหน

เมื่อ: 20 มิ.ย. 2557
787 ผู้ชม

Guest

รถตู้ วิ่งรับ-ส่งพนักงาน คือ วิ่งเช้าไปส่ง-เย็นไปรับ<br />ถ้าถูกหักเอาไว้ไปขอคืนกับใครครับ เขาว่าเอาไปขอคืนได้ >:(<br />ไม่ถูกหักได้เปล่าครับ

pangpond

ในกรณีที่เรามีรถตู้ใหเช่า นิติบุคคลมีสิทธิหัก ณ ที่จ่ายผู้มีเงินได้ในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ค่ะ และในการขอคืนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งในการขอคืนภาษีสามารถขอคืนได้ที่ กรมสรรากรหรือสรรพากรพื้นที่ค่ะ แต่จะได้คืนหรือไม่ต้องเป็นปตามที่เจ้าหน้าที่ประเมินค่ะ ซึ่งในการขอคืนภาษีนะค่ะลองมาทำความเข้าใจก่อนนะค่ะว่าเงินได้บุคคลธรรมดาแบบไหนที่จะสามารถขอคืนภาษีได้ค่ะ<br />ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนดภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย <br /> 8)<br />ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา? <br />ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ <br />1) บุคคลธรรมดา <br />2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล <br />3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี <br />4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง <br /><br />เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง? <br />1. ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 16 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งสำหรับในต่างจังหวัดยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด)และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งแล้วแต่กรณี <br />2. ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายนของปีนั้นก่อนการยื่นภาษีประจำปีตามปกติ <br />เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี? <br />ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่ <br />1. เงิน <br />2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน <br />3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน <br />4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ <br />5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด <br /><br />ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นในระหว่างปีภาษีมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ เสียภาษี <br />เงินได้บุคคลธรรมดาทุกกรณีหรือไม่? <br />ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีภาษีจะมีหน้าที่ต้องยื่นแบบฯ ก็ต่อเมื่อมีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าเมื่อคำนวณภาษีแล้วจะมีภาษีต้องชำระเพิ่มเติมหรือไม่ก็ตาม ดังนี้ <br />1. ผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) <br />- กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 50,000 บาท <br />- กรณีที่มีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 100,000 บาท <br />2. ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไปที่มิใช่เกิดจากการจ้างแรงงานที่ได้รับในปีภาษีนั้น (ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) <br />- กรณีไม่มีคู่สมรสต้องมีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท <br />- กรณีมีคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายต้องมีเงินได้พึงประเมินรวมกัน เกิน 60,000 บาท <br />3. กองมรดกของผู้ตายที่ยังไม่แบ่งเกิน 30,000 บาท <br />4. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเกิน 30,000 บาท <br /><br />วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร? <br />โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ <br />ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน <br />การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1 <br />เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี xxxx (1) <br /> หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด xxxx (2) <br />(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย xxxx (3) <br />หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด xxxx (4) <br />(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ xxxx (5) <br />หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด xxxx (6) <br />(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ xxxx (7) <br />นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา <br />จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1 xxxx ( <br /><br />ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง <br />กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.005 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น <br /><br />ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี <br />การคำนวณภาษี <br />จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ ( และ (10) จำนวนที่สูงกว่า xxxx (11) <br />หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว xx <br />ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว xx <br />ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า xx <br />เครดิตภาษีเงินปันผล xx xx (12) <br />(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้) xx <br />ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร และเมื่อใด? <br />แบบแสดงรายการที่ใช้มีดังต่อไปนี้ <br />ชื่อแบบ ใช้ยื่นกรณี กำหนดเวลายื่น <br />ภ.ง.ด. 90 มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป <br />ภ.ง.ด. 91 มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียว มกราคม - มีนาคม ของปีภาษีถัดไป <br />ภ.ง.ด. 93 มีเงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้า ก่อนถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบตามปกติ <br />ภ.ง.ด. 94 ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7 และ 8 กรกฎาคม - กันยายน ของปีภาษีนั้น <br />การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 ระยะ คือ <br />1. "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี" เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้เฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5,6,7 หรือ 8 ที่ได้รับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนไม่ว่าจะมีเงินได้ประเภทอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้น และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้ <br />2. "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี" เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้ว ในระหว่างปีภาษี โดยยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป <br />การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต <br />ขั้นตอนการยื่นแบบฯ <br />1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th <br />2. เลือกรายการบริการยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต <br />3. เลือกรายการบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 แล้วแต่กรณี <br />4. ถ้าเข้าสู่การใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการลงทะเบียนก่อน เมื่อได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดง หมายเลขผู้ใช้ และรหัสผ่านบนหน้าจอ <br />5. เข้าระบบโดยบันทึก หมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่าน <br />6. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ แล้ว คลิก "ตกลง" เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ <br />7. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ "คำนวณภาษีแล้ว" <br />7.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ <br />(1) โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ <br />(2) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ <br />7.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ <br />(1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น <br />(2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร (1) ระบบจะแจ้ง เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัส ควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารต่อไป เพื่อความสะดวกและถูกต้อง โปรดสั่งพิมพ์หรือจดข้อมูลดังกล่าวไว้ด้วย <br />(3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post ) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก <br />ขั้นตอนการชำระภาษี <br />เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้ <br />1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ <br />1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ <br />(1) ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว <br />(2) เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี <br />(3) ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร <br />(4) เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้ <br />(5) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว <br />1.2 การชำระวิธีอื่น <br />(1) เลือกบริการชำระภาษี <br />(2) ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต <br />(3) หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี <br />(4) กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว <br />หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น <br />2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว <br />เงื่อนไขการใช้บริการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91 <br />1. เป็นบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานประเภทเดียวเป็นบริการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป <br />2. เป็นผู้มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรและมีเลขประจำตัวประชาชน (กรณีมีสัญชาติไทย) <br />3. เป็นแบบฯ ที่ไม่ได้ขอคืนภาษี <br />4. เป็นการยื่นแบบฯ และชำระภาษีตลอด 24 ชม.ของทุกวันเว้นแต่วันที่ 31 มีนาคม 2546 จะปิดการให้บริการเวลา 22.00 น. <br />5. เป็นการยื่นแบบฯ ภายในกำหนดเวลาและชำระภาษีทั้งจำนวนในคราวเดียวเท่านั้น <br />6. กรณีชำระผ่าน ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรกัน <br />7. กรณีชำระภาษีผ่าน e-payment จะต้องทำความตกลงกับธนาคารก่อน <br /><br /><br /><br /><br /><br /><br /><br />
เมื่อ - 20 มิ.ย. 2557


กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก เพื่อแสดงความคิดเห็นในรายการนี้
กระทู้น้องใหม่
































เลขที่ 47/103 หมู่ที่ 9 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล บางพูด อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120
© Copy Right. Pang Pond. All Rights Reserved. | จดทะเบียนบริษัท ปทุมธานี | จดทะเบียนบริษัท นนทบุรี
ติดตามเราผ่าน